การออกกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆจำนวนมากถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมหรือจำกัดการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 ธ.ค.63 ทำให้บรรยากาศการแข่งขันหาเสียงเลือกตั้งในหลายๆพื้นที่ทั่วประเทศไม่คึกคักเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา
สถานการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับถึงเดือนธันวาคม 2563 เหลือร่าง 2 ฉบับ คือ ฉบับพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล มี 2 ปัญหาต้องช่วยกันคิด จะได้เลือกตั้ง สสร. 100% หรือไม่ และหมวด 1 หมวด 2 จะเขียนใหม่ได้หรือไม่ กับสองโอกาสหากต้องคว่ำข้อเสนอชุดนี้ถ้ายังคงมุ่งสืบทอดอำนาจให้ คสช. ต่ออีก
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ฉบับ พ.ศ.2550 และ พ.ศ.2560 สามด้าน คือ การศึกษา สุขภาพ และผู้สูงอายุ จะพบว่า ทั้งสามฉบับ มีการกำหนดโครงสร้างด้าน “สวัสดิการ” ไว้บ้าง แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิด “การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ” มากกว่าที่จะกำหนดให้เป็นสิทธิของประชาชน
หลักพระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ ไม่ได้ห้ามมิให้บุคคลฟ้องพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏใน "มาตรา 6" รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่มีหลักการอื่นที่กำกับควบคุมพระราชอำนาจประกอบกันด้วย คือ หลักการที่ว่า กษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ต้องมีผู้ลงนามรับสนอง
แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ แต่หลายคนโต้แย้งด้วยการหยิบยกเสียงของผู้ที่ลงประชามติรับร่างฉบับนี้ขึ้นมาอ้างอิง ไอลอว์จึงทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่เคยลงประชามติ “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญว่าเมื่อเวลาผ่านมา 4 ปีแล้ว ความคิดของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างไร
17 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมรัฐสภามีนัดพิจารณาญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเจ็ดฉบับ โดยหนึ่งในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะถูกพิจารณา คือ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่เสนอโดยประชาชน ซึ่งหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา และประกาศใช้อย่างเป็นทางการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเส้นทางข้างหน้าของการเมืองไทย มีอย่างน้อย 4 เรื่อง
ชวนทำความเข้าใจเนื้อหาและเหตุผลของ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ยกเลิก 5 แก้ไข เพื่อ "รื้อ" ระบอบอำนาจของ คสช. "สร้าง" หนทางกลับสู่ประชาธิปไตย และเปิดทางให้เกิดการ "ร่าง" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชน
วิทิต มันตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ พูดถึงเรื่องดุลยภาพในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยนำเสนอสามหัวข้อหลักเพื่อเป็นแนวทางสิทธิมนุษยชนที่ทุกฝ่ายใฝ่หา แม้แต่ละฝ่ายจะให้ความหมายแตกต่างกันแต่เรายังสามารถหาจุดสมดุลระหว่างกันได้
รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ทุกมาตราจริงหรือไม่?? มีความเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญ หมวด 1 บททั่วไปและหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ต้องห้ามไม่ให้แก้ไข ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะโดยหลักแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ทุกหมวด ทุกมาตรา
สำหรับผู้ที่ร่วมลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญ 100,732 คน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบเอกสารการลงชื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว แจ้งกลับมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 มีผู้จำนวนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วทั้งสิ้น 98,824 คน และผู้ที่ลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญนั้น มีที่อยู่ตามทะเบียนราษฎรครบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย!