รัฐธรรมนูญไทยในอดีตก็เคยวางร่องรอยของการจัดสวัสดิการไว้และยึดมั่นในหลักการบางประการมาอย่างต่อเนื่อง ทว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ได้ปรับเปลี่ยนถ้อยคำเล็กๆ น้อยๆ ที่เคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน คล้ายวางกับดักเป็นช่องว่างให้รัฐมีภาระการดูแลสวัสดิการประชาชนลดถอยลง
ถึงปี 2563 แล้วก็ยังมีคนที่ต้องการรักษาอำนาจให้ คสช. อ้างเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2560 "ผ่านประชามติมาแล้ว" และยืนยันที่จะไม่แก้ยอมให้แก้ไข ลองดูกันว่า ข้ออ้างนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร
ไอลอว์ติดตามการชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน รวมทั้งติดตามการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาอย่างต่อเนื่อง พวกเราเห็นว่า เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าให้ความขัดแย้งคลี่คลายลง ไอลอว์จึงเสนอทางออกเพื่อคลี่คลายวิกฤติหกข้อ
[อัพเดท!] สำหรับผู้ที่ร่วมลงชื่อ #แก้รัฐธรรมนูญ ตอนนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบเอกสารหลักฐานการลงชื่อและตรวจสอบความถูกต้องของผู้ที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 98,824 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว
การชุมนุม "ขยับเพดาน" ของกลุ่มนักศึกษา ทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม นำโดย "ณฐพล โตประยูร" อดีตนักร้อง(เรียน)ที่เคยยื่นเรื่องยุบพรรคอนาคตใหม่มาก่อน ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง โดยความฝันอันสูงสุด ไม่ใช่แค่การสกัดการชุมนุมของประชาชน แต่เป็นความพยายามในการ "ล้มกระดาน" การจัดชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร"
2 กรกฎาคม 2563 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยปรีดา นาคผิว ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครองกลาง เนื่องจากประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพราะไม่ได้ลงทะเบียนสแกนใบหน้าซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่ “สองแชะ” เพิ่มจากการลงทะเบียนปกติ
รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกขนานนามว่าเป็นฉบับ ‘สืบทอดอำนาจ’ เพราะมีกลไกช่วยเหลือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ยังคงอยู่ในอำนาจได้ต่อหลังการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกลไก "วุฒิสภา" ที่มาจากการสรรหาและคัดเลือกโดย คสช. ตลอดระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ส.ว.ชุดนี้ได้สร้างจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญไปแล้ว 2 ครั้ง คือ การเลือกนายกรัฐมนตรี และขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
24 กันยายน 2563 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมากให้ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอก่อนลงมติรับหลักการ (วาระแรก) โดยคาดว่าต้องใช้กรอบเวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน และเริ่มพิจารณาใหม่อีกครั้งในสมัยประชุมหน้า
แม้ถนนทุกสายจะมุ่งหน้าสู่การแก้รัฐธรรมนูญ 2560 แต่ใช่ว่าทุกเส้นทางจะมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง หากพิจารณาจากข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาลให้ดีจะพบว่า มันเป็นเพียงความพยายาม "เล่นแร่แปรธาตุ" ให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญกลายเป็น "ข้ออ้างอยู่ยาว" เพื่อรักษาอำนาจของ "ระบอบ คสช."
16 กันยายน 2563 ไอลอว์พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนยื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาเพื่อแจ้งว่าจะนำรายชื่อประชาชนที่รวบรวมได้ราว 70,000 คนซึ่งร่วมเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมายื่นต่อสภาเพื่อให้สภานำไปพิจารณาร่วมกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ โดยนัดหมายที่จะนำรายชื่อที่ตรวจสอบแล้วทั้งหมดมายื่นในวันที่ 22 กันยายนนี้