24 มิถุนายน 2563 รายการ "The Politics 88 ปี ประชาธิปไตยไทย" ได้ถ่ายทอดการสนทนากับศาสตราจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยบทสนทนามุ่งเน้นไปถึงหลักนิติรัฐที่วางรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แนวคิดทางกฎหมาย และประชาธิปไตยในประเทศไทย
เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว แม้จะถูกบังคับใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็เต็มไปด้วยหลักคิดที่นำเสนอกลไกรับรองอำนาจของประชาชนที่น่าพิจารณาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อให้เห็นระบอบการเมืองในฝันเมื่อวันนั้นที่ยังพอหลงเหลือหรือถูกทำลายไปแล้วในวันนี้
17 มิถุนายน 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้วินิจฉัยสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. และรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เนื่องจากขัดกับรัฐธรรมนูญที่ห้ามผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดมาดำรงตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี ทั้งนี้ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัตินักการเมืองคดีแรกของศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 4 คนที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 เมษายน 2563
อ.ดร.พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนพิจารณามุมมองทางกฎหมายว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นจำเป็นหรือไม่และทำไมเราจึงไม่ควรพึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการแก้วิกฤติโควิด-19 ชี้เราตกอยู่ในสภาพ “ถูกกฎหมายแต่ผิดหลักการ”
ตัวอย่างจากคดีการหายตัวของทนายสมชาย ที่เอาผิดกับคนทำไม่ได้ ช่วยให้เราเรียนรู้ช่องโหว่ของกฎหมายสำหรับการอุ้มหายที่เกิดขึ้น 16 ปีให้หลัง กรณีของวันเฉลิมเหตุเกิดที่ต่างประเทศ แม้กฎหมายไทยเปิดช่องให้เอาผิดในไทยได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ "ผู้เสียหาย" ที่จะเป็นคนริเริ่มคดี
ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถึงสองครั้ง แต่กลับไม่มีรายงานความคืบหน้าเรื่องความพร้อมของการตรวจหาผู้ติดเชื้อ หรือการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันโรค ทั้งที่เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจได้โดยไม่เสี่ยงต่อโรคระบาด
กระทรวงต่างประเทศกำลังเสนอกฎหมายใหม่ กำหนดวิธีการฟังเสียงประชาชนเพื่อให้รัฐบาลไปตกลงทำสัญญาระหว่างประเทศ ให้เปิดช่องทางออนไลน์ จัดประชุม ทำโพล ฯลฯ แต่ให้เวลาอย่างน้อย 15 วัน ส่วนช่องทางอื่นๆ ที่ประชาชนเคยเสนอไว้ให้เปิดเผยข้อมูล เปิดเผยร่างสัญญา มีผู้สังเกตการณ์ หายไปหมดแล้ว
วุฒิสภาชุดพิเศษทำงานครบรอบการทำงานหนึ่งปีนับแต่ที่เปิดสภาในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 ซึ่ง ในจำนวน ส.ว. 250 คนนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ ส.ว. มีที่มาแบบพิเศษ โดยหกคนมาจากผู้นำเหล่าทัพต่างๆ และปลัดกระทรวงกลาโหม อีก 194 คนมาจากกระบวนการที่ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นชุดหนึ่ง ไปหยิบเลือกรายชื่อมาจำนวนหนึ่งและส่งให้ คสช. เลือกขั้นตอนสุดท้าย ส่วนอีก 50 คน เรียกว่าเป็น ส.ว. "สายอาชีพ"
22 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ศบค. มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน โดยอ้างความจำเป็นในการคงมาตรการรับมือโรคระบาด แต่ทว่า ถ้าย้อนดูจากมาตรการสำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ กลับเป็นการใช้อำนาจและกลไกปกติกฎหมายต่างๆ อาทิ พ.ร.บ.โรคติดต่อ เป็นต้น
แม้ว่าวุฒิสภาชุดที่ทำงานอยู่ในปี 2563 จะมีที่มาจากการคัดเลือกของ คสช. แต่เมื่อเริ่มเข้ารับตำแหน่งแล้วก็พบว่า พวกเขาไม่ได้เพียงทำงานอยู่ในห้องประชุมเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมจำนวนมากที่สมาชิกทั้ง 250 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเดินทางไปพบปะประชาชนในระดับพื้นที่โดยใช้งบประมาณจากภาษี