Articles

ประเทศไทย มีกฎหมายหลายฉบับที่กำกับและควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก ที่โดดเด่นที่สุด คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำความผิดต่อข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การโจมตีระบบ หรือ การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ แต่ก็ถูกนำมาใช้จำกัดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างผิดฝาผิดตัวและเป็นผลให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อเสนอจากภาคประชาชนที่ต้องการป้องกันไม่ให้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกนำมาใช้เพื่อ "ฟ้องปิดปาก" 
วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ผู้ลี้ภัยสัญชาติไทยรายแรกที่ถูกอุ้มหายในประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ปี 2559 มีผู้ลี้ภัยถูกอุ้มหายไปแล้ว 9 ราย แต่ก่อนที่จะสิ้นหวังในการตามหาความยุติธรรม เราอยากชวนผู้อ่านมองออกไปยังบริบทโลกเพื่อค้นหาบทเรียนและปัจจัยของความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นแล้ว   
ข้อเรียกร้องให้รัฐบาล "ยุบสภา" เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกลุ่มนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศกำลังกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง  แต่ทว่า คำถามสำคัญ คือ ระหว่างการยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ กับ การแก้รัฐธรรมนูญก่อนแล้วจึงยุบสภา แนวทางไหนที่มีความเป็นไปได้มากกว่ากันที่จะพาประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตย 
14 กรกฎาคม 2563 ประเทศฝรั่งเศสได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข และผ่อนปรนให้เปิดสนามกีฬา โรงมหรสพ ฯลฯ รวมถึงให้ชุมนุมประท้วงได้ แต่ยังคงมาตรการรัฐบางอย่างเพื่อป้องกันโรคระบาดอยู่ เช่น ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดผับ และห้ามฝึกกีฬาต่อสู้
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือ “ยุทธศาสตร์ คสช.” เป็นอีกหนึ่งประเด็นในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่สมควรถูกแก้ไขหรือยกเลิก แม้รัฐบาล คสช. จะตอกย้ำว่าจะเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความต่อเนื่อง แต่เวลาไม่นานหลังการประกาศใช้ก็แสดงให้เห็นชัดว่ายุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ไม่สามารถป้องกันประเทศจากวิกฤติต่างๆ ได้ 
นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และรัฐบาลได้มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพื่อควบคุมโรค ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า  และนี่คือตัวอย่างเรื่องราวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และมาตรการดูแลเยียวยาที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาล  
Bunjongsak Wongprachaya Judge of constitutional court
13 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบให้ บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตัวแทนจากศาลปกครองสูงสุด ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ทำให้ขณะนี้ตุลากาลศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมีครบองค์คณะ 9 คนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว
Military
กองทัพไทยเป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งแง่เรื่องความโปร่งใสมาโดยตลอด และผู้เปิดโปงการทุจริตภายในกองทัพต้องถูกลงโทษทางวินัยและให้ออกจากราชการ สะท้อนให้เห็นว่ากลไกและกฎหมายภายในกองทัพเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยเป็นหน่วยงานที่ขาดความโปร่งใส-ตรวจสอบไม่ได้
หากพิจารณาจาก “รัฐธรรมนูญ ปี 2560” ซึ่งถูกร่างขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ทำการรัฐประหารในปี 2557 ก็จะพบว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้ “วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง” เป็นหลักประกันทางอำนาจของคณะรัฐประหารที่ต้องการจะดำรงอยู่หลังการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงต้องให้อำนาจ ส.ว. ไว้เป็นพิเศษ
ในภาวะวิกฤติจากสถานการณ์โควิดที่ทุกกลุ่มอาชีพได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แต่การช่วยเหลือจากภาครัฐกลับไม่สามารถเข้าถึงผู้เดือดร้อนได้ครอบคลุมทั้งหมด เสียงเพรียกหาสวัสดิการถ้วนหน้าจึงยิ่งดังขึ้น และ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ จากเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ wefair คืออีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่มุ่งขับเคลื่อนผลักดันแนวคิดรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นในสังคมไทย