ไอลอว์ทำการสุ่มสำรวจอย่างไม่เป็นทางการ อยากรู้ว่าคนในสังคมตื่นตัวเรื่องการทำประชามติขนาดไหนในบรรยากาศที่การรณรงค์เป็นไปได้ยาก พบร้อยละ ร้อยละ 70 ไม่ทราบวันลงประชามติ ร้อยละ 90 ไม่รู้เรื่องคำถามพ่วง
7 สิงหาคม 2559 จะเป็นประชามติครั้งที่สองของประเทศไทย หลังจากที่ครั้งแรกเกิดขึ้นเมือเดือนสิงหาคม ปี 2550 การออกเสียงประชามติทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหาร แต่บรรยากกาศการแสดงความเห็นคิดการรณรงค์ก็มีความแตกต่างกันในระดับหนึ่ง อะไรคือความเหมือนอะไรคือความต่าง
หลังศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่ข่าวว่า ตุลาการมีมติเอกฉันท์ ว่าพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง ส่วนที่เกี่ยวกับเสรีภาพการรณรงค์ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้ยื่นเรื่องให้ตีความ นี่เป็นความเห็นของไอลอว์
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วว่า "มาตรา 61 วรรค 2" ของ พ.ร.บ.ประชามติ "ไม่ขัดหรือแย้ง" ต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 มาตรา4 ทั้งนี้ เอกสารชี้แจงเป็นเพียงการบอกมติของศาลรัฐธรรมนูญว่า ขัดหรือไม่ แต่ไม่ได้ชี้แจ้งถึงเหตุผลโดยละเอียด ต้องรอดูเอกสารฉบับเต็ม
อีก 43 วัน ก็จะถึงวันออกเสียงประชามติ แต่มันจะเป็นประชามติแบบไหน มันจะเป็นประชามติที่รัฐพร้อมจะเปิดใจฟังเสียงคัดค้านต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ถกเถียงเพื่อทำความเข้าใจผลของการลงประชามติอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือสุดท้ายจะเป็นเพียงพิธีกรรมที่รัฐเป็นผู้ควบคุมด้วยกฎหมายและความกลัว
เรื่องฮือฮาในสหราชอาณาจักร เพียงหนึ่งวันก่อนวันลงประชามติ Brexit ปรากฏว่าชายคนหนึ่งเหนื่อยใจกับข้อถกเถียงอันไร้คุณภาพ จึงตัดสินใจทุ่มเงินซื้อโฆษณาชี้แจงข้อมูลสำคัญให้คนตัดสินใจก่อนลงประชามติ
29 มิ.ย. 2559 คือวันที่ศาลนัดชี้ชะตา มาตรา 61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประชามติ ว่าจะอยู่หรือจะไป ทั้งนี้ หากพิจารณาจากทิศทางคำวินิจฉัยที่ผ่านมา การจะดูว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกฎหมายนั้นเป็นไปตามเงื่อนในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือไม่ และเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ “เท่าที่จำเป็นและใช้บังคับเป็นการทั่วไป” หรือเปล่า
กลุ่มนักวิชาการและภาคประชาชนร่วมกันอ่านแถลงการณ์เรื่อง “ประชามติกับการใช้เสรีภาพ” เชื่อว่าประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. จะไม่สามารถดำเนินไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หากมาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 และประกาศ กกต. เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2559 ยังคงอยู่ต่อไป
ไอลอว์ชี้แจง กรณีที่ผู้ตรวจการแถลงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา 61 วรรค สอง ของพ.ร.บ.ประชามติ หากศาลวินิจฉัยว่าขัดกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผลที่จะตามมาก็คือ เฉพาะมาตรา 61 วรรคสอง จะใช้บังคับไม่ได้ เสมือนว่าเนื้อหาตามวรรคสองนี้ไม่เคยมีอยู่ และไม่เป็นเหตุให้เลื่อนประชามติ
iLaw นำรายชื่อภาคประชาชน เอ็นจีโอ และนักวิชาการ จำนวน 107 รายชื่อ ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้วินิจฉัยว่ามาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ล่าสุดที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย